การเติมน้ำยาหม้อน้ำอย่างถูกวิธี

การเติมน้ำยาหล่อเย็นลงในหม้อน้ำนั้น เป็นเรื่องสามัญที่เจ้าของรถจำเป็นต้องรู้ และทำเป็นเพราะมันเป็นส่วนสำคัญและหากน้ำยาหล่อเย็นในหม้อน้ำหมด หรือน้ำแห้งความอันตรายจะตกไปอยู่ที่เครื่องยนต์ อาจถึงขั้นเสียหายหนักได้ ดังนั้นเรามาดูวิธีเติมน้ำยาหล่อเย็น การเปลี่ยนถ่ายน้ำยาหล่อเย็น และดูแลหม้อน้ำอย่างถูกต้องกัน

เติมให้ได้ระดับ

อย่างแรกต้องหาหม้อน้ำให้เจอ อย่าสับสนกับน้ำที่ปัดน้ำฝนหล่ะ ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นกระปุกขาวๆ มีน้ำอยู่ข้างใน บางทีก็เป็นน้ำสีชมพู ตรวจดูว่าน้ำในหม้อน้ำอยู่ในระดับไหน จะมีระดับตัวอักษร B, F, L อยู่ ให้เติมอยู่ในระดับ F เท่านั้น ห้ามเกิน B และห้ามให้น้ำลดเกิน L และควรเช็คระดับน้ำเป็นประจำอาทิตย์ละหนึ่งครั้ง

เจอสนิมเกาะในหม้อน้ำจะทำอย่างไร

เมื่อมีน้ำเปล่าผสมในน้ำยาหล่อเย็น จะทำให้น้ำยาหล่อเย็นเสื่อสภาพ ดังนั้นเมื่อใช้ไปนานๆ จะมีคราบสนิมเกาะภายในหม้อน้ำและระบบหล่อเย็น ซึ่งส่งผลเสียอย่างมากทั้งก่อให้เกิดการผุกร่อนและอาจเกิดการอุดตันในรังผึ้งน้ำไม่หมุนเวียนส่งผลให้เครื่องร้อนขึ้นได้หากเช็คหม้อน้ำแล้วเจอคราบสนิมให้รีบล้างออกทันที  (ไม่ควรใช้น้ำยาล้างหม้อน้ำมาล้างเองเพราะน้ำยาที่มีส่วนประกอบของสารชะล้าง detergent บางชนิดอาจส่งผลเสียต่อชิ้นส่วนประเภทยางภายในปั้มน้ำประเก็นยางต่างๆ ทำให้เกิดการรั่วมากขึ้นไปอีก) ถ้าปริมาณไม่มากอาจใช้น้ำสะอาดล้างได้ ซึ่งยังดีกว่าการใช้น้ำยาประเภทกัดสนิม และหากมีปริมาณมากๆ ควรไปพบช่างโดยด่วน ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายเยอะ ดังนั้นเพื่อป้องกันการเกิดสนิม และการผุกร่อน กัดกร่อนหม้อน้ำ ควรให้ความสำคัญกับน้ำยาเติมหม้อน้ำที่ใช้เติม และควรใช้น้ำยาเติมหม้อน้ำที่มีคุณภาพและที่สำคัญ อย่าใช้น้ำเปล่าเติมลงในหม้อน้ำเด็ดขาด เพราะการใช้น้ำเปล่าเติมหม้อน้ำนั้นมีข้อเสียตามมามากมาย

ในกรณีที่ต้องนำรถเข้าเปลี่ยนถ่ายน้ำยาหล่อเย็น ขั้นตอนการเปลี่ยนถ่ายน้ำยาหล่อเย็นที่ถูกต้องมีดังนี้

a) ถ่ายน้ำยาหล่อเย็นเดิมในเครื่องยนต์ออก ข้อควรระวังคือ รถบางรุ่นต้องถ่ายน้ำยาออก ทั้งในส่วนของรังผึ้งหม้อน้ำและภายในเสื้อสูบ ในบางครั้งเรามักจะถ่ายน้ำยาเก่าออกเฉพาะบริเวณรังผึ้ง แต่ไม่ถ่ายน้ำยาบริเวณเสื้อสูบที่อยู่ในเครื่องยนต์ออก ทำให้ถ่ายน้ำยาไม่หมด ส่งผลเสียต่อน้ำยาหล่อเย็นใหม่ ที่เติมเข้าไป และข้อควรระวังคือ น้ำยาหล่อเย็นส่วนใหญ่ จะเป็นของเหลวที่มีพิษต่อรางกาย จากสารเอทธิลีนไกลคอล ดังนั้น เวลาทิ้งจึงควรระมัดระวังเป็นพิเศษ

b) ทุกๆ ครั้งที่มีการเปลี่ยนน้ำยาหล่อเย็นใหม่ แนะนำให้มีการล้างระบบหล่อเย็น หม้อน้ำหรือรังผึ้ง ปั้มน้ำ ด้วยน้ำสะอาด (โดยส่วนใหญ่น้ำที่ใช้น้ำจะเป็นน้ำบริสุทธิ์ หรือ น้ำกลั่นประเภท demineralised or deionised โดยภายหลังจากเติมน้ำสะอาดแล้ว (หลังเปลี่ยนถ่ายน้ำยาเก่าออกจนหมด) เดินเครื่องยนต์รอบเบาจนกระทั่งวาลว์น้ำเปิด รอประมาณ 5-10 นาที ค่อยถ่ายน้ำที่ใช้ล้างออก  ในกรณีที่น้ำสกปรก มีคราบตะกรันหรือสนิม อาจต้องล้างมากกว่า 1 ครั้ง จนกว่าน้ำที่ใช้ล้างหลังถ่ายออกจะมีสิ่งปนเปื้อนออกมาน้อย หรือไม่มีเลย อาจสามารถสังเกตุจากสีของน้ำได้

c) เติมน้ำยาหล่อเย็นเข้าไประบบ ตามปริมาณที่แต่ละเครื่องยนต์ได้บอกไว้ โดยให้สังเกตว่าหลังจากเดินเครื่องรอบเบาแล้ว ระดับน้ำในถังพักน้ำ ควรอยู่กึ่งกลางระหว่าง min กับ max ถ้าระดับน้ำยาหล่อเย็นอยู่ต่ำกว่า min ให้เติมน้ำยาหล่อเย็นเพิ่ม เพื่อให้อยู่ในระดับตามที่กำหนด

ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องของผู้ใช้รถเกี่ยวกับ เกี่ยวกับน้ำยาหล่อเย็น ภายหลังเปลี่ยนถ่ายน้ำยาหล่อเย็น

หากหม้อน้ำ หรือระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์เคยใช้น้ำเปล่ามาก่อน มีโอกาสมากที่จะเกิดรอยรั่วขึ้นภายในหม้อน้ำ และตามท่อทางเดินต่างๆ รวมทั้งภายในเครื่องยนต์ (อ่านรายละเอียดในเรื่อง ทำไมน้ำเปล่าทำอันตรายหม้อน้ำอย่างไร) ดังนั้นภายหลังจากล้าง หม้อน้ำแล้ว และเติม น้ำยาหล่อเย็นแล้ว ให้สังเกตุรอยรั่วอันอาจเกิดจากการกัดกร่อนของน้ำ หรือน้ำยาหล่อเย็นเก่าที่มีน้ำเจือปน  รอยรั่วจะสังเกตได้จากสีของน้ำยาหม้อน้ำที่เติมเข้าไปใหม่ ภายในระยะเวลาไม่นาน (อาจเห็นได้เลย หรือใช้เวลาหลายวัน  เนื่องจากแรกๆ จะสังเกตไม่เห็นรอยรั่ว เนื่องจาก น้ำยาหล่อเย็นเก่าได้กลายสภาพเป็นน้ำไปหมดแล้ว สีจะจางหรือแทบไม่มีสีให้เห็น จึงสังเกตรอยรั่วได้ยาก แต่อาจสังเกตว่าน้ำยาในถังพักพร่องบ่อย ต้องเติมน้ำยาบ่อยๆ นั่นเอง)  น้ำยาหล่อเย็นที่มีสีชัดเจนจะซึมออกให้เห็น (ส่วนใหญ่คนมักจะเข้าใจผิด ว่าน้ำยาหม้อน้ำหรือน้ำยาหล่อเย็นที่เติมลงไปกัดหม้อน้ำจนรั่ว  จนกระทั่งเปลี่ยนใจกลับไปใช้น้ำเปล่าตามเดิม ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง) เพื่อให้เราสามารถนำรถหรือหม้อน้ำไปซ่อมบำรุง ดีกว่าการทิ้งไว้ เพราะน้ำอาจแห้งจนสูบใหม้ได้ง่ายๆ

รอยรั่วซึมบริเวณตะเข็บรังผึ้งหม้อน้ำ ซึ่งเกิดมาจากการกัดกร่อนของน้ำเปล่าหากไม่ได้มีการซ่อมแซ่มอย่างถูกต้อง สีของน้ำยาหม้อน้ำซึ่งเปลี่ยนเข้าไปใหม่จะซึมออกจากบริเวณเดิมดังกล่าว จนมักจะโดนเข้าใจผิดว่า รังผึ้งหม้อน้ำโดนน้ำยาหม้อน้ำกัดจนรั่ว

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Scroll to Top